มาทำความรู้จักกับ “Teru teru bouzu” ตุ๊กตาไล่ฝนของประเทศญี่ปุ่นกันครับเถอะ

เพื่อนๆ หลายคนคงจะพอรู้จัก ตุ๊กตาไล่ฝน จากการ์ตูนญี่ปุ่นหลายๆเรื่อง โดยเฉพาะจากเรื่อง อิกคิวซัง เณรน้อยเจ้าปัญญานั่นเอง ซึ่งในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักเจ้าตุ๊กตาไล่ฝนนี้กันครับ

 

teru2

 

Teru teru bouzu (照る照る坊主) หรือที่คนไทยเรียกว่า ตุ๊กตาไล่ฝน มาจากคำว่า Teru (照る) แปลว่า แสง หรือ แสงแดด บวกกับคำว่า Bouzu (坊主) แปลว่า นักบวช ซึ่งก็คือลักษณะของตุ๊กตาที่ดูเหมือนนักบวช ใช้แขวนเพื่อขอให้อากาศดีไม่มีฝนตกนั่นเอง

 

ในแต่ละท้องถิ่นก็จะมีชื่อเรียกตุ๊กตาไล่ฝนแตกต่างกันออกไป เช่น ฮิโยริโบสุ (日和坊主) หรือ เทรุ เทรุ โฮชิ (てるてる法師) เป็นต้น นอกจากนี้เวลาที่จับตุ๊กตาไล่ฝนแขวนแบบกลับหัวก็จะเรียกอีกชื่อหนึ่ง คือ ฟุเระ ฟุเระ โบสุ (ふれふれ坊主) หรือ อาเมะ อาเมะ โบสุ (あめあめ坊主)

 

สมัยก่อนชาวไร่ชาวนามักจะแขวนตุ๊กตาไล่ฝนไว้นอกบ้าน เพื่อขอให้อากาศดี ฟ้าแจ่มใสเพื่อที่จะได้ออกไปทำไร่ทำนาได้สะดวก และเมื่อคำอธิษฐานเป็นจริง ก็จะต้องแขวนกระดิ่งหรือเทสาเกให้กับตุ๊กตาไล่ฝน เพื่อเป็นการขอบคุณ นอกจากนี้ปรกติแล้วตุ๊กตาไล่ฝนจะไม่มีหน้าตา แต่ถ้าเราวาดหน้าให้ ก็จะเป็นการขอให้ฝนตกนั่นเองครับ

 

teru1

 

ความเชื่อเรื่องตุ๊กตาไล่ฝนมีมายาวนานมากในประเทศญี่ปุ่น เป็นความเชื่อที่มาจากประเทศจีนในช่วงสมัยเฮอัน (ค.ศ. 794 – ค.ศ. 1185) เริ่มจากการที่ประเทศจีนนั้นใช้ตุ๊กตาขอพรที่เป็นตุ๊กตาเด็กผู้หญิงถือไม้กวาด เรียกว่า So Chin Nyan (掃晴娘)

 

โดยเชื่อกันว่าไม้กวาดนั้นจะปัดเป่าสิ่งที่ไม่ดีออกไป ซึ่งการแขวนตุ๊กตาเด็กหญิงถือไม้กวาดแล้วขอพร ก็เชื่อว่าจะทำให้วันรุ่งขึ้นอากาศแจ่มใส ปัดเป่าเมฆฝนออกไปครับ

 

teru3

ข้อมูลจาก: japantown.info

ร่วมแสดงความคิดเห็น...

SHARE
อัพเดทเรื่องราวของสถาบัน และหลักสูตรที่น่าสนใจในต่างประเทศ พร้อมแนะนำเทคนิคใช้ชีวิตต่างแดนแบบเจ๋งๆ คอยติดตามได้เลย...

ดูเรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ...