นโยบายการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ที่จะสอดรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

กฎเหล็กในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน บัญญัติเอาไว้ชัดเจนให้ภาษาอังกฤษเป็น Working Language ทำให้ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องตื่นตัว และจัดลำดับความสำคัญเสียใหม่ เพื่อเตรียมพร้อมในการรับมือกับสนามการแข่งขันที่เปิดกว้างมากขึ้น ไม่เพียงแต่เฉพาะ 10 ประเทศสมาชิกเท่านั้น แต่นั่นหมายถึงอาเซียนพลัส 3 และอาเซียนพลัส 6 ด้วย

 

น.ส.จุไรรัตน์ แสงบุญนำ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวว่า นโยบายการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่จะสอดรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนนั้น นอกจากการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนด้านภาษาอังกฤษแล้ว ยังสอนเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษาของเพื่อนบ้านด้วย

 

aec2

 

โดยหลักสูตรใหม่นี้จะพัฒนาวิธีการเรียนการสอนให้มีความทันสมัยขึ้น มีการติดตามผล ทำดัชนีชี้วัดและวางแผนให้เกิดประสิทธิผล อีกทั้งยังมีการร่วมประเมินผลกับนานาชาติ เพื่อทำให้การศึกษาของไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

ไม่ใช่แค่เพียงสายสามัญเท่านั้นที่ต้องปรับหลักสูตร แต่หมายรวมถึงสายอาชีพด้วย เพราะเด็กสายนี้เป็นกำลังหลักที่จะป้อนเข้าสู่ตลาดแรงงานทั้งในประเทศ และภูมิภาค ซึ่งความสามารถในด้านวิชาชีพของเด็กในสายนี้อยู่ในระดับที่ยอดเยี่ยม ได้การยอมรับมาโดยตลอด

 

aec2

 

แต่ที่ผ่านมาจะมีปัญหาทางด้านภาษาต่างประเทศซึ่งมีผลกระทบมายาวนานพอสมควร เนื่องจากการเรียนการสอนแบบเดิมมีการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศน้อยเกินไป ถึงแม้ว่าแผนการส่งเสริมนี้เริ่มทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนแล้ว ภาพรวมด้านภาษาอังกฤษของไทยก็ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำอยู่ดี

 

ทั้งนี้ก็เพราะเด็กไทยไม่ได้ให้ความใส่ใจใคร่รู้ ไม่มีความกระตือรือร้น ขวนขวายหาความรู้ ถึงแม้ว่าหน่วยงานภาครัฐ-เอกชนจะส่งเสริมแค่ไหนปัญหานี้ก็จะยังคงอยู่ อีกทั้งเวลาที่จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนก็กระชั้นชิดเข้ามาทุกที เราควรรีบเตรียมตัวทุกด้าน โดยเฉพาะเรื่องภาษา ให้พร้อมเพื่อที่จะสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้อย่างทัดเทียมกัน

ข้อมูลจาก: Eduzones

ร่วมแสดงความคิดเห็น...

SHARE
อัพเดทเรื่องราวของสถาบัน และหลักสูตรที่น่าสนใจในต่างประเทศ พร้อมแนะนำเทคนิคใช้ชีวิตต่างแดนแบบเจ๋งๆ คอยติดตามได้เลย...

ดูเรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ...