มาทำความรู้จักการศึกษาในประเทศเพื่อนบ้านของไทย “ประเทศลาว” กันเถอะ

ในขณะที่เด็กนักเรียนในประเทศอื่นๆ ต้องเรียนอย่างหนักเพื่อเตรียมตัวกับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในคณะที่ตัวเองใฝ่ฝัน แต่นักเรียนลาว กลับแตกต่างออกไป เนื่องจากการศึกษาในประเทศลาวมีการแข่งขันไม่ดุเดือดมากนัก และการสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็ไม่ใช่ความหวังความสูงสุดของเด็กที่นี่ครับ

 

le1

 

ในปี 2554 รัฐบาลลาวได้ปรับแผนปฎิรูปการศึกษาแห่งชาติ จากเดิมในระบบ 5:3:3 คือ ประถม 1-5 มัธยมต้น 1-3 และมัธยมปลาย 4-6 มาเป็นระบบ 5:3:4 โดยการเพิ่ม ม.7 เพื่อให้หลักสูตรการศึกษาใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน เช่น เวียดนาม ไทย และสิงคโปร์

 

เด็กนักเรียนลาวส่วนใหญ่ไม่นิยมเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียนแล้ว จะมีเพียงร้อยละ 13.4 เท่านั้นที่เรียนในมหาวิทยาลัย ขณะที่ประเทศไทย จะสูงถึงร้อยละ 44.7 เลยทีเดียว

 

le2

 

สำหรับเด็กนักเรียนที่มีความฝันอยากเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย เด็กส่วนใหญ่เลือกที่จะเรียนพิเศษตอนเย็นกับคุณครูสอนพิเศษที่ทางโรงเรียนจัดไว้ให้หรือจับกลุ่มติวหนังสือกับเพื่อนๆ กันเอง มากกว่าที่จะเสียเงินเรียนกวดวิชา เพราะราคาค่อนข้างแพง และคนลาวส่วนใหญ่คิดว่าการเรียนในห้องเรียนปกติก็เพียงพอแล้ว

 

สำหรับครอบครัวใดที่ฐานะดีก็จะลูกมาเรียนในประเทศไทย ในขณะที่ครอบครัวที่มีรายได้ไม่มาก เด็กก็จะเลือกออกมาหางานทำหรือเรียนต่อในสายอาชีพซึ่งใช้เวลาเรียนเพียงได้ 3 ปีเท่านั้น จึงทำให้มีมหาวิทยาลัยที่มีอยู่เพียง 3 แห่ง เพียงพอที่จะรับนักเรียนในแต่ละปี

ที่มา: youtube

ร่วมแสดงความคิดเห็น...

SHARE
อัพเดทเรื่องราวของสถาบัน และหลักสูตรที่น่าสนใจในต่างประเทศ พร้อมแนะนำเทคนิคใช้ชีวิตต่างแดนแบบเจ๋งๆ คอยติดตามได้เลย...

ดูเรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ...