การเพิ่ม -ing หลังคำกริยาเพื่อแสดงถึงความเป็นปัจจุบัน หรือการเติม -ed เพื่อสร้างรูปแบบในอดีต บางคำกริยาก็มักจะเพิ่มตัวอักษรสุดท้ายของคำนั้นเป็นดับเบิ้ล เช่น
– stop ⇒ stopped, stopping
– refer ⇒ referred, referring
ทั้งนี้ บางคำกริยาก็ไม่ได้ถูกดับเบิ้ลตามไปด้วย เช่น
– visit ⇒ visited, visiting
ด้วยเหตุนี้เองจึงอาจทำให้ผู้เรียนภาษาอังกฤษหลายคนเกิดความสับสน และอาจสะกดคำผิดๆ ได้ เพราะฉะนั้นเพื่อให้เข้าใจในเรื่องนี้มากขึ้น จำเป็นต้องเข้าใจกฎการสะกดคำก่อนเป็นอย่างแรก นั่นคือต้องรู้ความแตกต่างของสระ และพยัญชนะ ดังนี้
สระ = a e i o u
พยัญชนะ = ตัวอักษรอื่นๆ ทั้งหมด เช่น b c d f g ฯลฯ
เมื่อไหร่ที่ควรดับเบิ้ลพยัญชนะเป็นสองตัว?
1. พยัญชนะตัวสุดท้ายของคำกริยาจะถูกดับเบิ้ลเมื่อลงท้ายด้วย พยัญชนะ + สระ + พยัญชนะ เช่น
– rob ⇒ robbed, robbing
– sit ⇒ sitting
2. คำว่า travel และ cancel ในภาษาอังกฤษแบบบริติชได้ ที่ทั้ง 2 คำจะต้องดับเบิ้ลพยัญชนะสุดท้ายโดยอัตโนมัติดังนี้
– travel ⇒ travelled, travelling
– cancel ⇒ cancelled, cancelling
3. พยัญชนะตัวสุดท้ายของคำกริยาจะถูกดับเบิ้ลเมื่อคำมีมากกว่าหนึ่งพยางค์ และเมื่อต้องการเน้นย้ำพยางค์สุดท้ายในการพูด เช่น
– beGIN ⇒ beginning
– preFER ⇒ preferred, preferring
เมื่อไหร่ที่ไม่ควรดับเบิ้ลพยัญชนะเป็นสองตัว?
1. อย่างไรก็ตาม หากไม่เน้นพยางค์สุดท้ายก็จะไม่เพิ่มพยัญชนะสุดท้ายเป็นสองเท่าก่อนเติม -ed และ -ing ดังนี้
LISten ⇒ listened, listening
HAPpen ⇒ happened, happening
2. จะไม่เพิ่มตัวอักษรตัวสุดท้ายเป็นสองเท่าเมื่อคำถูกลงท้ายด้วยพยัญชนะสองตัว (-rt, -rn ฯลฯ ) เช่น
– start ⇒ started, starting
– burn ⇒ burned, burning
3. จะไม่เพิ่มตัวอักษรตัวสุดท้ายเป็นสองเท่าเมื่อมีสระสองตัวอยู่หน้าพยัญชนะสุดท้าย เช่น
– remain ⇒ remained, remaining
4. จะไม่เพิ่มตัวอักษรตัวสุดท้ายเป็นสองเท่าเมื่อพยัญชนะ w หรือ y อยู่ท้ายของคำ เช่น
– play ⇒ played, playing
– snow ⇒ snowed, snowing
นี่คือกฎของการสะกดคำแบบฉบับเข้าใจง่าย รับรองว่าถ้าจำกฎเหล่านี้ได้ การสะคำดับก่อนการเติม -ed และ -ing ในคำกริยาจะกลายเป็นเรื่องหมูๆ ไปเลย! ลองจำและนำไปใช้ดูนะ :D
ที่มา: speakspeak