สาวๆ ยุคใหม่อาจชินกับการมีอิสระ ทั้งในการใช้ชีวิต การเลือกไลฟ์สไตล์ หรือแม้แต่การตัดสินใจทำอะไรได้อย่างที่ใจต้องการ แต่ย้อนกลับในเมื่อราว 100 ปีที่แล้ว ผู้หญิงในยุคนั้นไม่มีสิทธิ์แม้แต่การออกมาเดินเตร่นอกบ้าน หรือการเลือกใช้ชีวิตในแบบที่ต้องการ ทุกอย่างถูกกำหนดด้วยประเพณีหรือขนบธรรมเนียมที่สังคมตีตราไว้
ทว่าในปี 1920 เรียกได้ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สำหรับผู้หญิง เนื่องจากพวกเธอได้รับสิทธิที่จะออกมาอยู่นอกบ้านได้อย่างอิสระเป็นครั้งแรก และเรียกได้ว่าเป็นก้าวสำคัญที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ
ลองไปชมกันดูสักหน่อยว่าผู้หญิงในยุคนั้นใช้ชีวิตกันอย่างไร
การแปรญัตติครั้งที่ 19 ซึ่งทำให้ผู้หญิงมีสิทธิ์ออกเสียงลงคะแนนได้เป็นครั้งแรก
การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นมาจากความพยายามในการประท้วงมานานเกือบ 100 ปี
นี่คือภาพของผู้หญิงกลุ่มแรกที่ได้ลงคะแนนเสียง ไม่กี่เดือนหลังจากที่กฎหมายถูกปรับแก้ในปี 1920
จากนั้น ผู้หญิงในลอนดอนก็เริ่มประท้วงเพื่อสิทธิในการลงคะแนนเช่นกัน
กลุ่มผู้สนับสนุนและคัดค้านการเปลี่ยนแปลงนี้
แม้ว่าผู้หญิงเพิ่งจะได้รับสิทธิในการลงคะแนนเสียง ทว่าพวกเธอก็ทำงานเพื่อสังคมมานานแล้ว
ผู้หญิงหลายคนทำงานในเครือข่ายการสื่อสาร
ในขณะที่อีกหลายคนทำงานในโรงงานผลิตลูกเทนนิส
รวมถึงโรงงานผลิตขวดนม
การทำงานในโรงงานเป็นไปอย่างยาวนานและน่าเบื่อ
แม้ว่าจะมีการเลิกทาสไปแล้วในปี 1865 แต่ผู้หญิงผิวสีก็ยังถูกเลือกปฏิบัติและไม่ได้รับโอกาสเท่ากับผู้หญิงผิวขาว
งานที่พวกเธอสามารถทำได้มีอยู่ไม่กี่อย่าง ซึ่งส่วนมากเป็นงานใช้แรงงาน
ในปี 1920 มีการจัดตั้ง Black Cross Nurses ซึ่งได้รับต้นแบบมาจากสภากาชาด
ในขณะเดียวกันผู้หญิงในญี่ปุ่นที่ถูกใช้แรงงานในโรงงาน ก็เริ่มประท้วงเกี่ยวกับสภาพการทำงานที่ไม่เป็นธรรม
ในปี 1920 นี้ เป็นปีที่ผู้หญิงเริ่มทำอาหารนอกบ้าน
นอกจากนี้ ในปีนี้ยังเป็นปีที่มีการผลิตเครื่องช่วยทุ่นแรงในการทำงานบ้านใหม่ๆ ขึ้นมา
เมื่อเริ่มมีการผลิตรถยนต์ ทำให้ผู้หญิงเริ่มได้รับอิสระและความคล่องตัวในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน
แม้ว่าจะต้องทำงานหนัก แต่สาวๆ เมื่อ 100 ปีก่อนก็มีวิธีสนุกสนานตามแบบฉบับของตัวเอง
การเต้นรำเป็นงานอดิเรกยอดนิยมสำหรับทั้งเด็กและผู้ใหญ่
การเล่นกีฬาที่น่าสนใจอย่างมากในยุคนั้น
จะเห็นได้ว่า เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหนึ่งอย่าง ก็ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ตามมา จนทำให้ในปัจจุบันสาวๆ สามารถคิดและทำในสิ่งที่พวกเธอต้องการได้มากขึ้น ต้องขอบคุณผู้นำการเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้น ที่สร้างความหลากหลายให้กับโลกในปัจจุบัน :)
ที่มา: Insider