26 เคล็ดลับการเรียนฉบับบัณฑิต Harvard ‘วิธีเรียนให้มีประสิทธิภาพ & ประสบความสำเร็จ’

มาดูกันว่านักศึกษาจากมหาวิทยาลัยดังอย่าง Harvard University มีเคล็ดลับการเรียนเด็ดๆ อย่างไร? โดยทั้ง 26 คำแนะนำนี้เขียนโดย Sophia Chua-Rubenfield นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจาก Yale Law School และ Harvard University

ในบล็อกส่วนตัวของเธอ Sophia ได้แบ่งปันเคล็ดลับเกี่ยวกับวิธีการเรียนแบบนักเรียนฮาร์วาร์ด ซึ่งอาจพิสูจน์ได้ว่าเราทุกคนเรียนผิดมาตลอด เลื่อนลงไปดูเคล็ดลับการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้เธอประสบความสำเร็จได้เลย

 

 

ขั้นตอนเบื้องต้น

1. เลือกชั้นเรียนที่คุณสนใจ ที่ไม่ทำให้คุณรู้สึกแย่เมื่อต้องตื่นไปเรียน

2. หาเพื่อนใหม่ๆ

 

หลักการทั่วไป

3. เรียนให้น้อยแต่ตั้งใจเรียนให้ดี

4. หลีกเลี่ยงไม่ให้สมองทำอะไรโดยไม่รู้ตัว (Autopilot brain)

5. ความคลุมเคลือทำให้เสียเวลา

6. จดทุกอย่างลง

7. จำเอาไว้ให้แม่นแล้วลงมือทำ

 

 

แผนการโจมตีขั้นที่ 1: ในชั้นเรียน

8. เข้าห้องเรียนทุกครั้ง เพราะมันทั้งประหยัดเวลา และทำให้เข้าใจอะไรๆ ได้ไวขึ้น

9. จดบันทึกด้วยมือ เพราะมันช่วยให้จำสิ่งที่จดเข้าสู่สมองได้ง่ายขึ้น

 

แผนการโจมตีขั้นที่ 2: การค้นคว้าความรู้

10. ไม่จำเป็นต้องเข้าห้องสมุดเพื่อหาความรู้ เพราะ 8 ชั่วโมงของการนั่งเล่น Facebook ในห้องสมุดนั้นไม่ได้ช่วยอะไร

11. ทำเพียงเล็กน้อยแต่ทุกๆ วัน เช่น ตั้งใจว่าบ่ายวันนี้จะอ่านหนังสือและทำโจทย์สักครึ่งหนึ่ง จากนั้นก็ดูซีรีส์สักตอน และไปออกกำลังกาย เป็นต้น

12. สร้างแรงจูงใจให้ตัวเอง ไม่มีอะไรเลวร้ายไปกว่าการจัดเวลาที่ยุ่งเหยิง ถ้ารู้ว่าควรส่งงานภายในอีก 6 ชั่วโมง ก็ควรทำงานนั้นๆ ให้เสร็จเป็นอันดับแรก

13. อนุญาตให้เพื่อนๆ ยึดโทรศัพท์ของคุณเมื่อพวกเขาจับได้ว่าคุณเล่น ROV หรือ Among Us

 

 

แผนการโจมตีขั้นที่ 3: การทำงานที่ได้รับมอบหมาย

14. หยุดขีดไฮไลต์ เพราะมันแสดงออกถึงการกระทำโดยไม่รู้ตัว (Autopilot Brain) เช่น เมื่อคุณเหม่อไปที่หน้าต่าง ทันใดนั้นก็มีแต่ไฮไลต์สีเขียวนีออนทั่วหนังสือ ทั้งๆ ที่คุณจำไม่ได้ว่าอ่านมันอยู่ ควรเปลี่ยนจากขีดไฮไลต์เป็นจดบันทึกที่ขอบกระดาษแทน

15. ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายทั้งหมดด้วยตัวเอง

16 อ่านให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และอย่าพยายามโกงด้วย Sparknotes

17. สร้างนิสัยการเป็นนักอ่านอย่างชาญฉลาดผ่านการคุยกับตัวเอง เช่น ถามตัวเองว่าผู้เขียนพยายามพิสูจน์อะไร? หรืออะไรคือสิ่งนี้? เป็นต้น ปกติคำตอบของคำถามมักจะอยู่บริเวณบทนำ หรือบทสรุปของทุกบท จากนั้นเลือกตัวอย่างที่อ่านแล้วตัวเองเข้าใจมาจดไว้เพื่อใช้ภายหลัง

18. อย่าอ่านทุกอย่าง ควรทำความเข้าใจกับทุกสิ่งที่อ่าน เพราะการทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับเนื้อหาที่มีจำนวนจำกัด ย่อมดีกว่าการมีความเข้าใจแบบคลุมเครือเกี่ยวกับเนื้อหาทั้งหมด เพราะมันจะเสียเวลาเปล่าๆ

19. ใช้ Bullet points เพื่อจดสรุปให้เข้าใจ สามารถนำไปปรับใช้ได้กับทั้งการเขียนเรียงความ หรือการเขียนสรุป เป็นต้น

 

 

แผนการโจมตีขั้นที่ 4: ช่วงเวลาแห่งการอ่าน (สัปดาห์ทบทวน)

20. ย้ำอีกครั้ง ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาทั้งหมดที่ห้องสมุด ให้เวลาตัวเองได้กินข้าว นอนพักผ่อน และอาบน้ำเหมือนกิจวัตรประจำวันปกติ

21. สิ่งที่คุณไม่เข้าใจคือสิ่งที่คุณอาจเจอในห้องสอบได้ เพราะฉะนั้นควรค้นคว้าเพิ่มเติมทั้งในหนังสือหรืออินเทอร์เน็ตจนกว่าจะเข้าใจ

22. ฝึกทำโจทย์หรือแบบทดสอบที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

23. ฝึกการท่องจำอย่างมีประสิทธิภาพ การอ่านสิ่งนั้นซ้ำๆ ไม่ได้ช่วยให้จำได้ไวขึ้น แต่ควรพูดออกมาดังๆ หรือตั้งคำถามควิซกับเพื่อนๆ ก็ได้เช่นกัน

24 ให้เพื่อนๆ ช่วยฟังในขณะที่คุณอธิบายแนวคิดยากๆ สิ่งนี้จะช่วยให้คุณและเพื่อนเห็นภาพในหัวข้อที่กำลังพูดถึงได้ชัดเจนขึ้น จำไว้ว่าความคลุมเครือนั้นไม่ดี!

25 มองภาพใหญ่ๆ เข้าไว้ พยายามคิดว่าแนวคิดเฉพาะตรงไหนเหมาะกับหลักสูตรโดยรวมที่คุณเรียน เพราะมันจะช่วยปรับปรุงสิ่งที่คุณต้องรู้และเข้าถึงภาพใหญ่ได้ คุณจะไม่เข้าใจประเด็นของแต่ละหลักสูตรเลยหากขาดมุมมองนี้ไป

 

แผนการโจมตีขั้นที่ 5: วันสอบ

26. ทำให้เต็มที่แล้วคว้า A มารัวๆ ให้ได้!

 

 

ที่มา: boredpanda

ร่วมแสดงความคิดเห็น...

SHARE

ดูเรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ...