เชื่อว่าหลายคนก็คงเคยคิดเหมือนกันว่าปีกผีเสื้อนั้นไม่มีชีวิต เป็นเพียงปีกที่มีลวดลายสวยๆ เพื่อให้ผีเสื้อบินไปมาเท่านั้น
แต่บอกเลยว่าอาจต้องเปลี่ยนความคิดใหม่แล้วล่ะ! เพราะงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Columbia และมหาวิทยาลัย Harvard ค้นพบแล้วว่า ‘ปีกผีเสื้อก็มีหัวใจ’
งานวิจัยได้เผยว่าปีกผีเสื้อมีเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอยู่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อควบคุมอุณหภูมิของปีก โดยเซลล์เหล่านี้มีชื่อเรียกว่า ‘หัวใจของปีก’ โดยมันจะเต้น 2-3 ครั้งต่อนาที เพื่อควบคุมการไหลเวียนของเลือด
และเพื่อทำความเข้าใจโครงสร้างที่ซับซ้อนนี้ ทีมนักวิจัยจึงได้สร้างแบบจำลองการศึกษาธรรมชาติของผีเสื้อ รวมถึงได้พัฒนาการถ่ายภาพด้วยอินฟาเรดแบบใหม่ด้วย
ทีมได้ทำการตัดปีกผีเสื้อมากกว่า 50 ชนิด เพื่่อใช้กล้องศึกษาที่เซลล์ประสาทภายใน แล้วบันทึกกระบวนการทำความเย็นและความร้อนของปีก จนสามารถศึกษาแผนที่การกระจายอุณหภูมิของปีกผีเสื้อในรูปแบบสีต่างๆ ได้
ทีมวิจัยยังค้นพบอีกว่าปีกผีเสื้อสามารถรับรู้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ แต่ก็สามารถสร้างพฤติกรรมบางอย่างเพื่อรักษาอุณหภูมิให้ปกติไว้ได้ เช่น เก็บปีก หรือบินให้ห่างจากองศาปะทะของแสงอาทิตย์ เป็นต้น
โดยในอนาคต ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Columbia และมหาวิทยาลัย Harvard หวังไว้ว่าเทคนิคการควบคุมความร้อนของผีเสื้อจะสามารถพัฒนาไปสู่การสร้างปีกเครื่องบินทนความร้อนได้
ถือเป็นแรงบันดาลใจอย่างหนึ่งในการออกแบบปีกเครื่องบินเลยล่ะ! เห็นได้ชัดว่าสิ่งที่ยิ่งใหญ่บางครั้งก็เกิดจากแรงบันดาลใจจากสิ่งเล็กๆ หลายล้อมรอบตัวนั่นเอง : )
ที่มา: engineering.columbia & popsci