7 วิธีใช้ประโยค “I Look Forward to Hearing from You” เขียนยังไง ให้คนอ่านอยากตอบกลับ

หากกำลังส่งอีเมลสำคัญและกระตือรือร้นที่ต้องการคำตอบ ก่อนจะลงท้ายในอีเมลว่า “I look forward to hearing from you” (หวังว่าจะได้รับคำตอบจากคุณ)

ซึ่งก็ดูเหมือนประโยคปกติทั่วไป ทว่ามันแฝงไปด้วยความรู้สึกทางลบเหมือนเราไปเร่งเร้าเอาคำตอบจากอีกฝ่าย แต่ถ้าต้องการใช้ “Looking Forward to Hearing From You” เราก็มีเทคนิคในการใช้ให้ฉลาดมาฝากกัน

 

 

อย่างไรก็ตามการใช้ประโยคนี้ในการลงท้ายอีเมลก็ขึ้นอยู่กับบริบทและวัตถุประสงค์ในข้อความ

ข้อดี

-เป็นมิตรและสนิทสนม

-ทำให้ผู้รับทราบว่าคุณต้องการคำตอบ

 

ข้อเสีย

-เป็นดูดาษดื่น ใครๆ ก็ใช้กัน ดังนั้นผู้รับอาจเพิกเฉยได้

-ในบางบริบทสื่อไปทางลบ เหมือนบังคับกลายๆ

-ให้ความรู้สึกเหมือนคุณเอาแต่รอคอยไม่เคลื่อนไหวไปข้างหน้า จนกว่าจะได้รับคำตอบ

 

 

7 ตัวเลือกในการใช้ “I Look Forward to Hearing From You”

1. ใช้ call-to-action

หมายถึงการกระตุ้นให้ผู้รับตอบสิ่งที่เราเสนอ การสื่อสารทางอีเมลที่ดีต้องช่วยลดการคาดเดาของผู้รับ และการใช้ “I Look Forward to Hearing From You” ผู้รับคงเดาไม่ออกว่าคุณต้องการได้ยินหรือทราบอะไร ดังนั้นเปลี่ยนมาใช้ประโยคที่มีความชัดเจนแทน เช่น

I plan to hand off this graphic to our design team by Friday. Would you please send me your feedback by Wednesday? (ฉันวางแผนที่จะส่งต่อ ภาพกราฟฟิกนี้ให้ทีมออกแบบของเราภายในวันศุกร์ คุณกรุณาส่งข้อเสนอแนะของคุณถึงวันพุธนี้หรือไม่?)

Would you like me to send you our research when it’s finalized? (คุณต้องการให้ฉันส่งงานวิจัยของเราให้เมื่อเสร็จแล้วหรือไม่?)

 

2. I’m eager to receive your feedback.

หากคุณไม่มีเวลาที่ตายตัว การลงท้ายอีเมลด้วยความกระตือรือร้นต้องการคำตอบก็สามารถใช้ได้อย่างเหมาะสม และการลงท้ายเช่นนี้ดูนุ่มนวลกว่าการร้องขอโดยจำกัดเวลาสำหรับผู้รับ

อีกหนึ่งการลงท้ายอย่างไม่เป็นทางการนักคือ “I value your feedback, so let me know what you think!” (ฉันให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของคุณ ดังนั้นกรุณาแจ้งให้เราทราบว่าคุณคิดเห็นอย่างไร!)

 

3. I appreciate your quick response.

สามารถใช้ประโยคนี้ได้หากต้องการการตอบกลับที่รวดเร็วทันใจแต่ไม่มีข้อกำหนดเวลาที่ตายตัว และสามารถกระตุ้นผู้รับอีเมลได้มากกว่าการใช้ “I look forward to hearing from you.”

 

4. Always happy to hear from you.

หรืออีกนัยหนึ่งหมายความว่า  “Hey, my inbox is always open!” (กล่องข้อความฉันเปิดทำการอยู่ตลอดเวลา) เป็นการใช้ที่ไม่เป็นทางการและเหมาะสำหรับผู้รับอีเมลที่ค่อนข้างสนิทกัน

 

5. Keep me informed…

หากบางครั้งต้องการคำตอบที่ชัดเจนและเน้นยำถึงเรื่องที่พูดในข้อความ ใช้ย้ำถึงเรื่องนั้นต่อท้ายอีกที เช่นต้องการติดตามความคืบหน้าของโครงการ ก็ใช้คำว่า “Keep me informed of any updates.”

 

6. I await your immediate response.

เก็บประโยคปิดท้ายแบบนี้ไปใช้ในกรณีที่ผู้รับอีเมลตอบกลับล่าช้า แต่ระวังด้วยว่าเพราะการใช้คำลงท้ายเช่นนี้ให้น้ำเสียงในโทนกรุ่นโกรธ

 

7. Write soon!

ใช้ในอีเมลอย่างไม่เป็นทางการ สำหรับการสื่อสารที่เป็นมิตร เช่น ใช้กับเพื่อน หรือญาติสนิท แต่ดูไม่เหมาะนักหากใช้ในอีเมลธุรกิจ

 

ที่มา www.grammarly.com

ร่วมแสดงความคิดเห็น...

SHARE

ดูเรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ...