นักวิจัยเผย “กินเยอะผิดปกติ” ไม่ใช่นิสัยที่แก้ไม่หาย แต่เกิดจากยีนกลายพันธุ์?!

กลุ่มนักวิจัยจาก University College London ได้เผยแพร่การศึกษาที่ค้นพบว่า อาการของโรค Binge Eating (โรคกินเยอะผิดปกติ) ไม่ใช่นิสัยเสียที่แก้ไม่หาย แต่เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนตัวหนึ่งในร่างกายมนุษย์ ที่ทำให้ผู้ป่วยชอบรับประทานอาหารด้วยความรวดเร็ว และมองหาอาหารตลอดเวลา แม้ในใจจะกังวลเรื่องน้ำหนักตัวก็ตาม

 

binge-eating   จากการเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของอาสาสมัคร 6,000 คนที่เกิดในยุค 90s พบว่าวัยรุ่นที่มีการกลายพันธุ์ในยีน FTO บนโครโมโซมคู่ที่ 16 ของมนุษย์ มีความเสี่ยงในการเป็นโรคกินเยอะผิดปกติ มากกว่าคนธรรมดาถึงร้อยละ 20 และความเสี่ยงจะเพิ่มพิเศษเป็นร้อยละ 30 ในกลุ่มเพศหญิง   อย่างไรก็ตาม อาการผิดปกติในการรับประทานอาหาร ไม่ได้เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนในร่างกายมนุษย์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะอีกปัจจัยหลักคือพฤติกรรมการบริโภค ที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการสร้างวินัยในการกิน และการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมใกล้ตัวไม่ให้หมกมุ่นกับอาหารและการหาของกินเข้าปากอยู่ตลอดเวลาครับ ข้อมูลจาก: voicetv

ร่วมแสดงความคิดเห็น...

SHARE
อัพเดทเรื่องราวของสถาบัน และหลักสูตรที่น่าสนใจในต่างประเทศ พร้อมแนะนำเทคนิคใช้ชีวิตต่างแดนแบบเจ๋งๆ คอยติดตามได้เลย...

ดูเรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ...