8 ข้อทักษะ “การเสริมกำลังใจ” ให้กับผู้อื่น ตามหลักจิตวิทยา

ทักษะการเสริมกำลังใจ หมายถึง ความสามารถในการใช้วิธีการที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจ ความกล้าแสดงออก โดยอาจเป็นการให้รางวัลหรือคำชมเชยหลังจากที่บุคคลประพฤติปฏิบัติหรือมีพฤติกรรมตามที่เราต้องการ ซึ่งการทดลองของนักจิตวิทยา B.F.Skinner เกี่ยวกับเรื่องของการเสริมกำลังใจ สรุปเป็นสาระได้ดังนี้ครับ

 

words-of-encouragement

 

1. การเสริมกำลังใจคือการให้สิ่งเร้า (รางวัล คำชมเชย ฯลฯ) แก่ผู้เรียน หลังจากที่เขาทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเสร็จแล้ว จะทำให้เขาอยากจะทำพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก
2. การเสริมกำลังใจทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างรวดเร็ว
3. ถ้าพฤติกรรมอะไรก็ตามถ้าแสดงไปแล้วไม่ได้รับการเสริมกำลังใจ พฤติกรรมนั้นจะมีแนวโน้มที่จะไม่เกิดขึ้นอีก
4. การให้การเสริมกำลังใจทุกครั้งที่มีการแสดงพฤติกรรมจะทำให้ผู้เรียนทราบว่าการกระทำหรือพฤติกรรมอันไหนที่ทำให้ได้รับรางวัล (การเสริมกำลังใจ) ได้ดีกว่าการเสริมกำลังใจเป็นบางครั้งบางคราว
5. การลงโทษจะทำให้ผู้เรียนจำได้ว่าพฤติกรรมอย่างไหนที่ไม่ควรทำ ไม่สามารถขจัด พฤติกรรมได้โดยตรง

 

หลักในการเสริมกำลังใจ
1. ควรเสริมกำลังใจทันทีหลังจากกระทำพฤติกรรมที่พึงปรารถนา เช่น ดีมาก ดี เก่ง ถูกต้อง ยิ้ม พยักหน้า หรือแสดงความเอาใจใส่ขณะที่นักเรียนพูด ฯลฯ
2. ควรเสริมกำลังใจในจังหวะที่เหมาะสมและมีความเป็นธรรมชาติ
3. ควรใช้วิธีเสริมกำลังใจหลาย ๆ วิธี เช่น ใช้ภาษาและท่าทางเพื่อแสดงการยอมรับการตอบสนองหรือพฤติกรรม
4. การเสริมกำลังใจจะต้องไม่พูดจนเกินความจริง
5.  ควรเสริมกำลังใจให้ทั่วถึงทุกคน
6. ควรเสริมกำลังใจในทางบวกมากกว่าในทางลบ
7. ควรเสริมกำลังใจด้วยท่าทางที่จริงใจ
8. ไม่ควรใช้การเสริมกำลังใจแบบใดแบบหนึ่งซ้ำ ๆ จนมากเกินไป เพราะจะทำให้เบื่อง่ายและไม่ให้ผลทางจิตวิทยา
9. การเสริมกำลังใจควรพิจารณาให้เหมาะสมกับวัย การเสริมกำลังใจบางชนิดอาจเหมาะกับคนบางระดับเท่านั้น

ข้อมูลจาก: pisadd.212cafe.com

ร่วมแสดงความคิดเห็น...

SHARE
อัพเดทเรื่องราวของสถาบัน และหลักสูตรที่น่าสนใจในต่างประเทศ พร้อมแนะนำเทคนิคใช้ชีวิตต่างแดนแบบเจ๋งๆ คอยติดตามได้เลย...

ดูเรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ...