“Root Bridges” สะพานมีชีวิต ที่สร้างจากภูมิปัญญาท้องถิ่นอันชาญฉลาดของชาว Khasis ในอินเดีย

หลายๆหมู่บ้านในรัฐ Meghalaya ประเทศอินเดีย มีการสร้างสะพานด้วยวิธีการที่น่าสนใจมาก โดยใช้รากของต้น Ficus elastica (rubber fig tree) ซึ่งเป็นวิธีที่ตกทอดกันมากว่า 500ปี ถ้าจะพูดให้ถูกจริงๆน่าจะเรียกว่าการ ปลูกสะพาน ซะมากกว่าครับ

 

br1

 

เมือง Cherrapunji ในแถบ Khasi Hills ของรัฐ Meghalaya เป็นเมืองที่ได้รับการบันทึกว่ามีฝนตกชุกที่สุดในโลก มากกว่า 75ฟุตต่อปี และด้วยสภาพอากาศฝนตกชุกแบบนี้เองที่ต้น rubber fig เติบโตได้อย่างดี

 

ต้นไม้ชนิดนี้ จะมีระบบรากชั้น2 ที่เติบโตอยู่เหนือพื้นดิน และช่วยให้ต้นไม้เติบโตขึ้นไปตามแนวราก ชาว Khasis ได้เรียนรู้วิธีในการใช้รากของต้น rubber fig สานเป็นสะพาน เพื่อใช้ในการข้ามแม่น้ำลำธาร ตั้งแต่อดีตกาลนานมาแล้วครับ

 

br3

 

โดยพวกเขาจะใช้ลำต้นของต้น betul nut เพื่อกำหนดทิศทางรากของต้น rubber fig อีกที ซึ่งรากจะเลื้อยพันไปตามลำต้น และข้ามแม่น้ำ จนไปลงดินในอีกฟากฝั่งของแม่น้ำ กลายเป็นสะพานที่แข็งแรงและดูเข้ากับธรรมชาติเป็นที่สุดครับ

 

ถึงแม้การปลูกสะพานของชาวบ้านเหล่านี้จะใช้เวลานาน แต่ก็คุ้มค่า เพราะมันอยู่ได้ยาวนาน ยิ่งเวลาผ่านไปนาน มันก็ยิ่งเติบโตแข็งแรงมากขึ้น สะพานบางแห่งมีความยาวมากกว่า 100 ฟุต สามารถรับน้ำหนัก คนบนสะพานได้คราวละมากถึง 50 คนเลยทีเดียว

 

br4 br5 br6 br7 br2

ข้อมูลจาก: iUrban

ร่วมแสดงความคิดเห็น...

SHARE
อัพเดทเรื่องราวของสถาบัน และหลักสูตรที่น่าสนใจในต่างประเทศ พร้อมแนะนำเทคนิคใช้ชีวิตต่างแดนแบบเจ๋งๆ คอยติดตามได้เลย...

ดูเรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ...