มาทำความเข้าใจเงิน “Pound Sterling” มาตราเงินของอังกฤษ กันเถอะ

ปอนด์สเตอร์ลิง (Pound Sterling) เริ่มใช้มาตั้งแต่เมื่อประมาณ พ.ศ. 1320 ราชอาณาจักรซักซอน ได้ทำเหรียญกษาปณ์ขึ้นจากโลหะเงินแท้ น้ำหนัก 1 ปอนด์ ซึ่งได้เหรียญเงินเป็นจำนวน 240 อัน เรียกว่าเหรียญสเตอร์ลิง

 

ps1

 

ในการใช้จ่ายเงิน ก็จะเรียกค่าเป็นจำนวน ปอนด์ของเหรียญสเตอร์ลิง (Pounds of Sterling) และภายหลังเรียกสั้นลงว่า ปอนด์สเตอร์ลิง (Pound Sterling)

 

ครั้นเมื่อพวกนอร์มันเข้ามาครองอำนาจแทนพวกซักซอน พวกนี้ได้แบ่งหน่วยเงินตราปอนด์ออกเป็นหน่วยย่อย คือ 1 ปอนด์ แบ่งได้ 20 ชิลลิง (shillings) และ 1 ชิลลิง ยังแบ่งได้อีกเป็น 12 เพนนี (pennies)

 

ps2

 

อักษรย่อของปอนด์นั้นจะใช้ว่า lb หรือ £ มีที่มาจากคำว่า libra ในภาษาละตินสมัยกลาง สำหรับอักษร £. นั้น ก็คือตัว L นั่นเอง ในตำราเก่าๆ บางครั้งเขียน l. เฉยๆ ก็มี

 

ส่วนชิลลิงจะใช้อักษรย่อว่า s ย่อมาจาก solidus ในภาษาละติน สำหรับหน่วยเล็กสุด คือ เพนนี ย่อเป็น d เพราะในภาษาละตินนั้น หน่วยเล็กสุดของค่าเงินคือ denarius เราจึงอาจพบการเขียนบอกจำนวนเงินเป็น 2l. 8s. 5d. นั่นคือ 2 ปอนด์ 8 ชิลลิง กับอีก 5 เพนนี

 

ps3

 

เหรียญชิลลิง เดิมเรียกว่า เทสทัน หรือ เทสทูน (teston, testoon) เริ่มมีครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2047 มีการแกะสลักเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 7 ครั้นในสมัยรัชกาลพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ก็ยังคงใช้เหรียญค่านี้ แต่เรียกใหม่ว่า ชิลลิง

 

ส่วนที่มาของชื่อ ชิลลิง นั้นยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่เข้าใจว่าเรียกตามเหรียญของพวกอังโกล-ซักซอน คือสคีลลิง (scilling, scylling) และบางรัฐของเยอรมนีก็มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ที่เรียกว่า ชิลลิง (schilling) เหมือนกัน

 

ps4

 

จนเมื่อ พ.ศ. 2464 ค่าของชิลลิงเป็นแต่ชื่อเรียกเท่านั้น ไม่ได้มีการผลิตเหรียญเงินค่าชิลลิงออกมา และอีก 26 ปีต่อมา มีการผลิตเหรียญชิลลิง โดยใช้โลหะผสมระหว่างทองแดง และนิกเกิล เรียกว่า โลหะคิวโพรนิเกิล

 

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 อังกฤษได้เปลี่ยนมาตราเงินแบบเทียบร้อยตามหลักสากล คือ 100 เพนนี เป็น 1 ปอนด์ โดยไม่ใช้หน่วยชิลลิงอีก ทำให้อักษรย่อชิลลิงจึงหมดไป และอักษรย่อเพนนี ก็ได้เปลี่ยนจาก d เป็น p ซึ่งย่อมาจากคำว่าเพนนี (penny) โดยตรงนั่นเอง

ข้อมูลจาก: wikipedia

ร่วมแสดงความคิดเห็น...

SHARE
อัพเดทเรื่องราวของสถาบัน และหลักสูตรที่น่าสนใจในต่างประเทศ พร้อมแนะนำเทคนิคใช้ชีวิตต่างแดนแบบเจ๋งๆ คอยติดตามได้เลย...

ดูเรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ...