มาทำความรู้จัก “โรคออฟฟิศซินโดรม” โรคที่เกิดบ่อยๆในคนที่ทำงานออฟฟิศ

โรคออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) เกิดในผู้ที่ต้องนั่งทำงานอยู่กับที่เป็นเวลานาน ร่างกายมีการเคลื่อนไหวน้อย ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ และปวดเมื่อยตามอวัยวะต่าง ๆ อาทิ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยขึ้นในผู้ที่ทำงานในสำนักงาน บางรายที่มีอาการของหมอนรองกระดูกเคลื่อนอยู่แล้ว หากทำงานในอิริยาบถที่ผิดซ้ำเติมอีกจะทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้น

 

os1

 

โรคออฟฟิศซินโดรมที่พบบ่อย มี 3 อาการ ได้แก่

 

1. ปวดหลังเรื้อรัง การใช้ชีวิตอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์วันละ 8 ชั่วโมง โดยเฉพาะการนั่งหลังค่อม จะทำให้กล้ามเนื้อที่ต้นคอ สะบัก เมื่อยตึงตัวอยู่ตลอดเวลา เป็นสาเหตุสำคัญเกิดอาการปวดเมื่อย และการนั่งในท่าดังกล่าวจะทำให้หายใจไม่อิ่ม กระบังลมขยายไม่เต็มที่ สมองได้รับออกซิเจนไม่เต็มที่ จะทำให้เกิดอาการง่วงเหงาหาวนอน หรือที่เรียกว่าสมองไม่แล่น ศักยภาพทำงานไม่เต็มร้อย

2.ไมเกรนหรือปวดศีรษะเรื้อรัง ความเครียดการพักผ่อนไม่เพียงพอ แสงแดด ความร้อน และขาดฮอร์โมนบางชนิดก็เป็นปัจจัยก่อให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน

3.มือชา เอ็น อักเสบ นิ้วล็อก การอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ เส้นเอ็นนิ้วมือ พบมากขึ้นเพราะเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าจากการใช้คอมพิวเตอร์ การจับเมาส์ในท่าเดิมนานๆ ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็นจนอักเสบ เกิดพังผืดยึดจับบริเวณนั้นเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดอาการปวดของปลายประสาทนิ้วล็อก หรือข้อมือล็อกได้

 

os4

 

สิ่งที่ผู้ที่ทำงานในสำนักงานควรปฏิบัติ เพื่อลดความเสี่ยงการเจ็บป่วยด้วยโรคออฟฟิศซินโดรม มีข้อแนะนำดังนี้

 

1.ไม่ควรใช้เก้าอี้สปริงที่เอนได้ เพราะไม่มีการรองรับหลังเท่าที่ควร ควรเลือกเก้าอี้ที่เอนได้ และมีความสูงของเก้าอี้และโต๊ะได้ระดับ และมีหมอนหนุนหลัง

2. ปรับจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา คือ กึ่งกลางของจออยู่ระดับสายตา การพิมพ์งาน แป้นคีย์บอร์ดควรอยู่ในระดับข้อศอก ข้อมือ จะได้ไม่ต้องยกแขนขึ้นมาพิมพ์

3.ปรับพฤติกรรมการนั่งเก้าอี้ขณะนั่งทำงาน โดยนั่งให้เต็มก้นคือหลังตรงชิดขอบด้านในของเก้าอี้ กะพริบตาบ่อย ๆ พักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์ทุก ๆ 10 นาที เปลี่ยนท่าการทำงานทุก 20 นาที ยืดเหยียดกล้ามเนื้อมือและแขนทุก ๆ 1 ชั่วโมง

 

os2

 

4.ปรับอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน เช่น ปรับพนักพิงให้รองรับกับหลังส่วนล่าง ถ้าไม่สามารถทำได้ใช้หมอนหนุนหลังส่วนล่างตั้งจอคอมพิวเตอร์และคีย์บอร์ดไว้ในแนวตรงกับหน้า ใช้เมาส์โดยพักข้อศอกบนที่รองแขน และสามารถเคลื่อนไหวได้แบบไม่จำกัดพื้นที่ เป็นต้น

5.หาต้นไม้ในร่มมาปลูก เพื่อช่วยดูดซับสารพิษและเป็นที่พักสายตาจากการต้องจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์

6.หมั่นออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ ละไม่ต่ำกว่า 30 นาที

7.รับประทานอาหารทั้ง 5 หมู่ให้ตรงเวลา

 

os3

 

8. ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

9.ควรเปิดหน้าต่างสำนักงาน เพื่อให้อากาศหมุนเวียนถ่ายเท อย่างน้อยในตอนเช้าที่อากาศยังไม่ร้อนมาก และตอนพักกลางวัน และ

10.ปรับอารมณ์ พยายามไม่เครียด ผ่อนคลาย แค่คุณลองทิ้งงานไปเดินเล่นสัก 10 นาที ก็ถือว่าได้ผ่อนคลาย

 

หากมีอาการเจ็บป่วยเหล่านี้เรื้อรัง ถ้าปรับสถานที่ทำงานและปรับพฤติกรรมแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม โทร 02-591-8172 หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422

 

ข้อมูลจาก: eduzones

 

ร่วมแสดงความคิดเห็น...

SHARE
อัพเดทเรื่องราวของสถาบัน และหลักสูตรที่น่าสนใจในต่างประเทศ พร้อมแนะนำเทคนิคใช้ชีวิตต่างแดนแบบเจ๋งๆ คอยติดตามได้เลย...

ดูเรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ...