ชีวิตแสนอาภัพ ของคนงานต่างถิ่นชาวจีน ที่ไร้ความเหลียวแลจากภาครัฐ

Liu Xiwu คนงานกรรมกร วัย 53 ปี ออกจากบ้านในมณฑลเหอเป่ย ตั้งแต่อายุได้ 18 ปี เพื่อมาทำงานสร้างทางรถไฟในกรุงปักกิ่ง เมื่อ 30 ปีก่อน จนปัจจุบันหลิวก็ยังไม่ได้กลับบ้าน

 

เช่นเดียวกับคนงานต่างถิ่นอีกกว่า 40 ล้านคน ที่อพยพจากภูมิลำเนา เนื่องจากการทำมาหากินในถิ่นเกิดไม่พอยังชีพเลี้ยงครอบครัว หลิวก็หวังเพียงว่าเขาจะได้ทำงานนี้ไปจนวันตาย หรือไม่ก็จนกว่าจะไม่มีใครจ้าง ซึ่งก็คงอีกสักสิบกว่าปี

 

liw1

 

หลิว ออกจากบ้านในเขตไท่หาง มาตั้งแต่เมื่อ 30 กว่าปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลเริ่มอนุญาตให้ประชาชนออกไปหางานทำต่างเมืองได้ โดยค่าแรงนั้นตกวันละ 3 หยวน

 

จนเมื่อสิบกว่าปีก่อนนี้ คนงานก่อสร้างจำนวนมากถูกเบี้ยวค่าแรงโดยจ่ายเพียงร้อยละ 60 แม้รัฐบาลจะเข้ามาคุ้มครองแต่บริษัทนายจ้างส่วนใหญ่ก็ใช้วิธีการจ้างโดยไม่มีสัญญาจ้างแรงงาน เพื่อเลี่ยงกฎหมาย

 

คนงานจึงไม่ได้รับความคุ้มครองหรือการประกันรายได้ใดๆ การจ่ายเงินต่ำกว่าข้อสัญญายังคงเป็นเรื่องปกติ การกดขี่แรงงานก็เป็นเรื่องทั่วไป หลิว กล่าวว่า ชีวิตกรรมกรคนยากนั้นคงเรียกร้องอะไรไม่ได้ ใครจะทำอะไรเราก็ได้ทั้งนั้น เราเป็นคนชั้นล่างสุดของสังคม 

 

liw2

 

เขาอดทนทำงานเพื่อให้รุ่นลูกไม่ลำบาก ลูกสาวคนโตของเขาแต่งงานและมีงานทำในกรุงปักกิ่ง ขณะที่ลูกสาวอีกคนกำลังศึกษาระดับปริญญาโท ส่วนลูกชายก็ศึกษาในวิทยาลัยเทคนิค เป้าหมายต่อไปคือเก็บเงินให้มากพอที่จะซื้ออพาร์ตเมนต์ในเมืองให้ลูกๆ ทุกคนได้ลงหลักปักฐาน

 

หลิว กล่าวว่า พร้อมจะทำทุกอย่างเพื่อสร้างอนาคตให้ลูก ด้วยความหวังที่ว่าไม่ต้องการให้รุ่นลูกรุ่นหลานต้องมาเป็นกรรมกรแรงงานต่างถิ่นเช่นตนเอง หลิวบอกว่าเขาอาจจะโชคดีพอได้เห็นวันนั้น ขณะที่เพื่อนกรรมกรต่างถิ่นอีกมากอาจไม่มีวันนั้น

 

“ตราบใดที่ลูกของผมยังมีอนาคต ชีวิตคนงานกรรมกรก็ถือว่าไม่เลวร้าย ผมไม่อยากรุ่นลูกรุ่นหลานต้องมาเป็นกรรมกรแรงงานต่างถิ่น”

 

ที่มา: ASTV

 

ร่วมแสดงความคิดเห็น...

SHARE
อัพเดทเรื่องราวของสถาบัน และหลักสูตรที่น่าสนใจในต่างประเทศ พร้อมแนะนำเทคนิคใช้ชีวิตต่างแดนแบบเจ๋งๆ คอยติดตามได้เลย...

ดูเรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ...