เหตุการณ์ธรรมชาติทางท้องฟ้าที่จะเกิดขึ้นในปี 2014 รับรองว่าไม่ควรพลาด…

เหตุการณ์ธรรมชาติต่างๆ มักเกิดขึ้นมาบนโลกเราเสมอ.. บางเหตุการณ์ก็อาจจะหาชมได้ง่าย บางเหตุการณ์ก็อาจจะหาชมได้ยาก บางเหตุการณ์นานๆก็เกิดขึ้นที และยังมีอีกหลายเหตุการณ์ที่บางครั้งผู้คนต่างเฝ้ารอที่จะได้ชื่ชมมันซักครั้งในชีวิต แต่ก็ยังไม่มีโอกาสซักที

สำหรับวันนี้ ทางเรา WeGoInter.com อยากจะมานำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับปรากฎการณ์ทางท้องฟ้าในปี 2014 ที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ และไม่ควรพลาดชมเลยครับ….

 

9.) ดาวหัวใจสิงห์ (20 มีนาคม)
– ดาวหัวใจสิงห์ (Regulus) เป็นหนึ่งในดาวเคราะห์ที่ส่องสว่างมากที่สุด แต่ในเดือนมีนาคมมันจะถูกบดบังรัศมีโดยดาวเคราะห์น้อยนามว่า 163 เอริโกน (Erigone) ทำให้ประชาชนในแถบรัฐนิวยอร์ค จนถึงออสเวโก และออนทาริโอ จะสามารถมองเห็นปรากฎการณ์ดาวสิงห์ดับวูบไปได้ด้วยตาเปล่า เป็นระยะเวลานานถึง 12 วินาทีนั่นเองครับ

 

8.) ค่ำคืน M&M (14-15 เมษายน)
– M&M (Mars and Moon) เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่ดาวอังคาร และดวงจันทร์ จะสร้างปรากฎการณ์บนท้องฟ้าร่วมกัน.. โดยดาวอังคารจะเคลื่อนที่เข้าใกล้โลกมากที่สุดในระยะ 92.4 ล้านกิโลเมตร จนทำให้อาจเห็นขนาดที่ใกล้เคียงกันระหว่างดาวอังคาร และดวงจันทร์ พร้อมทั้งเห็นความสุกสว่างของดาวอังคารประหนึ่งดาวฤกษ์ในยามค่ำคืน

nf6lnasn

 

7.) วงแหวนไฟ (28-29 เมษายน)
– เหนือทวีปแอนตาร์กติกา และบางส่วนของออสเตรเลีย จะพบเห็นปรากฎการณ์ วงแหวนแห่งไฟ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ สุริยุปราคาวงแหวน นั่นเอง

 

6.) ฝนดาวตก (24 พฤษภาคม)
– โลกจะเคลื่อนตัวเข้าสู่กลุ่มฝุ่นปริมาณมหาศาล ของดาวหาง P/290 ลิเนียร์ (P/209 LINEAR) จนทำให้อาจเกิดปรากฎการณ์ฝนดาวตกหลายสิบดวงเกิดขึ้นมา

5qvblmby

 

5.) ซูเปอร์มูน (11 สิงหาคม)
– เวลา 02.09 ตามประเทศไทย ดวงจันทร์จะเข้าสู่ระยะเต็มดวง และเคลื่อนที่เข้าใกล้โลกในระยะกว่า 3 แสนกิโลเมตร จนเกิดเหตุการณ์ supermoon ขึ้นมา!

 

4.) จันทรุปราคาเต็มดวง (8 ตุลาคม)
– ปรากฎการณ์จันทรุปราคา เตรียมโคจรกลับมาอีกครั้ง ซึ่งหากมองด้วยกล้องส่องโทรทัศน์จะมองเห็นแสงเรืองสีเขียวของดาวเคราะห์ยูเรนัสที่ปรากฎอยู่ใกล้ๆได้อีกด้วย

 

3.) ปรากฎการณ์สุกสว่างของสองดาวเคราะห์ (18 สิงหาคม)
– ดาวศุกร์ และดาสพฤหัส เตรียมสุกสว่างเจิดจรัสบนท้องฟ้าอย่างสวยงามนั่นเองครับ

d0dyhaqs

 

2.) ดาวหางเฉียดดาวอังคาร (19 ตุลาคม)
– หอดูดาว Siding Spring Observatory จากออสเตรเลีย ได้ค้นพบดาวหาง C/2013 เอ1 (C/2013 A1) หรือซิดิงสปริง (Siding Spring) และมันอาจจะเข้าใกล้ชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร จนทำให้เกิดฝนดาวตกอีกครั้งในช่วงท้ายของปีนี้

 

1.) สุริยุปราคา (23 ตุลาคม)
– ปรากฎการณ์สุริยุปราคาบางส่วนจะพาดผ่านพื้นที่ส่วนใหญ่ของอเมริกาเหนือ และทางตะวันออกของไซบีเรีย ซึ่งจะยังมีอีกหลายบริเวณที่เกิดการคราสของดวงอาทิตย์เกิดขึ้น อาทิ เช่น มหาสมุทรอาร์กติก ที่แยกเกาะวิคตอเรีย (Victoria Island) ออกจากเกาะปรินซ์เวลส์ (Wales Island) ในเขตปกครองนูวาวุต (Territory of Nunavut) เป็นต้น

a2ja5b7b

 

และสำหรับทั้งหมดนี้ ก็เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นบนท้องฟ้าในปี 2014 นี้ครับ… หากใครที่สนใจในเรื่องเกี่ยวกับดวงดาว จักรวาล และดาราศาสตร์ไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง เลยนะครับ

 

ร่วมแสดงความคิดเห็น...

SHARE
อัพเดทเรื่องราวของสถาบัน และหลักสูตรที่น่าสนใจในต่างประเทศ พร้อมแนะนำเทคนิคใช้ชีวิตต่างแดนแบบเจ๋งๆ คอยติดตามได้เลย...

ดูเรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ...